การปกครองส่วนกลาง
1. ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา ตำแหน่งเทียบเท่าอัครมหาเสนาบดี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยามหาเสนาบดี ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับราชการทหารและการป้องกันประเทศ
2. ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับงานราชการพลเรือนทั่วๆ ไป มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มีเสนาบดีจตุสดมภ์เป็นเจ้ากระทรวง ตำแหน่งรองลงมาจากสมุหนายก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ดังนี้
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดีกรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยศักดินาขึ้น และใช้มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศักดินา คือ วิธีให้เกียรติยศบุคคลตั้งแต่ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์หรือเกียรติยศของบุคคล เช่น
2. ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับงานราชการพลเรือนทั่วๆ ไป มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มีเสนาบดีจตุสดมภ์เป็นเจ้ากระทรวง ตำแหน่งรองลงมาจากสมุหนายก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ดังนี้
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดีกรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยศักดินาขึ้น และใช้มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศักดินา คือ วิธีให้เกียรติยศบุคคลตั้งแต่ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์หรือเกียรติยศของบุคคล เช่น
ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่
คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่
ทาสมีศักดินา 5 ไร่
การกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิ และหน้าที่ของประชาชน นอกจากนี้ ระบบศักดินายังเกี่ยวพันกับการชำระโทษ และปรับไหมในกรณีกระทำผิดอีกด้วย คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐาน